ภาษาไทย

ดูบทความยาสมุนไพร ดีอย่างไร?

ยาสมุนไพร ดีอย่างไร?

หมวดหมู่: สมุนไพร

 

                    “สมุนไพร” ใช้เป็นยามามากกว่า 3,000 ปี การนำสมุนไพรมาใช้ในการบรรเทาและรักษาโรค ร่วมด้วยกับการนวดและปรับวิธีการรับประทานอาหารและความเป็นอยู่

          ซึ่งเรียกการรักษาแบบนี้ว่าการรักษาแบบองค์รวม คนอีกเป็นจำนวนมากยังคงต้องอาศัยยาสมุนไพรแผนโบราณเพื่อรักโรคษากันอยู่ ยาสมุนไพรจึงมีบทบาทสำคัญเพราะ

          ถือเป็นภูมิปัญญาประจำชาติ และเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้กับผู้ป่วยที่ยาแผนปัจจุบันไม่สามารถทำให้อาการของคนเหล่านั้นดีขึ้นได้ และผลข้างเคียงที่พึงจะได้รับก็คือ

          ความเสี่ยงต่อตับและไตในระยะยาว

 

 

          1.ยาแผนโบราณ

                     ส่วนใหญ่จะมีผลข้างเคียงและอันตรายน้อยกว่ายาแผนปัจจุบัน เพราะทำขึ้นจากธรรมชาติ สกัดจากพืช สัตว์ และแร่ธาตุ ไม่มีตัวยาที่สังเคราะห์ขึ้นจากสารเคมี

          อาการข้างเคียงก็น้อยกว่า การแพ้ยาก็น้อยกว่าการรักษาด้วยยาแผนโบราณเปรียบเสมือนการทานอาหารจากธรรมชาติเป็นเครื่องเทศปรุงผสมอาหารประจำวันที่คนไทย

          เรานิยมทานกันอยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นโรคฉุกเฉินโรคติดเชื้อโรคที่มีอาการรุนแรงแบบเฉียบพลัน บาดทะยัก โรคพิษสุนัขบ้า ประสบอุบัติเหตุ ฯลฯ หมอปัจจุบันและยาแผนปัจจุบัน

          ควรเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกว่า

 

 

          2.ยาสมุนไพร

                    ตามพระราช บัญญัติยา (พ.ศ.2510) ยาสมุนไพรคือ ยาที่ได้จากพฤกษชาติ สัตว์ หรือ แร่ ซึ่งมิได้ผสม ปรุง หรือแปร สภาพ เป็นยารักษาโรคที่ได้ตามธรรมชาติหาได้ง่าย

          ใช้รักษาได้ผลดี มีพิษน้อย และหลายชนิด มีคุณสมบัติหรือสรรพคุณในการรักษาแตกต่างกันตามส่วนต่าง ๆ ของพืช

 

 

          3.ส่วนประกอบของพืชสมุนไพร

                    - ราก : มีทั้งรากแท้และรากฝอย ดูทั้งรากสดและรากแห้ง ความเปราะของเนื้อราก สี กลิ่น รส การที่จะจำแนกราก สมุนไพรต้องใช้ความชำนาญ

                    - ลำต้น : ปกติเกิดบนดินหรือมีบางส่วนอยู่ใต้ดิน จะประกอบด้วยตา ข้อ และปล้อง ประเภทไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม หญ้า ไม้เลื้อย เป็นต้น การสังเกต ลำตัน ตา

                     ข้อ และปล้อง มีลักษณะเป็นอย่างไร แตกต่างอย่างไร

                    - ใบ : สังเกตรูปร่างของใบ ปลาย ริม เส้น และเนื้อของใย อย่างละเอียด เปรียบเทียบลักษณะของใบที่คล้ายคลึงกันจะจำแนกใบได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

                    - ดอก : สังเกตลักษณะอย่างละเอียด เช่น กลีบดอก จำนวน การเรียงตัว รูปร่าง สี กลิ่น เป็นต้น

                    - ผล : ผลที่เป็นยา สังเกตลักษณะผลทั้งภายนอกและภายใน เมล็ดภายในผลยังอาจเป็นยาได้อีก การสังเกต ควรสังเกตลักษณะ รูปร่างของเมล็ดไปพร้อมกันด้วย

 

 

 

 

                    ส่วนประกอบของพืชสมุนไพรนั้น เราสามารถนำมาใช้ได้ทุกส่วน ตัวยาในพืชสมุนไพรนั้น จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่ กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ชนิดของยาว่าถูกต้องหรือไม่

          ส่วนไหนที่ใช้เป็นยา ราก ลำต้น ใบ ดอก หรือผล พื้นดินที่ปลูก อากาศ การเก็บในช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม การเลือกเก็บยาอย่างถูกวิธีนั้น ก็จะมีผลต่อคุณภาพหรือฤทธิ์ ของยา

          ที่จะนำมารักษาโรคด้วย เราจึงต้องมีหลักเกณฑ์ในการเก็บสมุนไพรอย่างถูกวิธีเพื่อให้ได้ยาที่มีคุณภาพ

14 ธันวาคม 2562

ผู้ชม 3823 ครั้ง

Engine by shopup.com